ไพลสด

ไพลสด

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เรื่อง น้ำมันไพลหอม

คณะผู้จัดทำ

นายเดชากุล ใจหาญ เลขที่ 3
นางสาวนีรนุช วงค์รัมย์ เลขที่ 21
นางสาวประวีณา สุขหนา เลขที่ 23


อาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูรตนัตตยา จันทะนะสาโร

โรงเรียนภัทรบพิตร อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ


เเพพพะพพ ในการจัดทำโครงงานเรื่อง น้ำมันไพลหอม มีจุดประสงค์เพื่อนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งไพลเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่น เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลงงง่าย และมีสรรพคุณในการรักษาโรคมากมาย เช่น แก้ผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำดำเขียว แก้เคล็ดขัดยอก เป็นต้น ชาวบ้านจึงนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือน อีกทั้งการทำน้ำมันไพลยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาได้อีกด้วย และด้วยเหตุนี้กลุ่มของข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับไพล
ฟหฟหฟหฟ โครงงานเรื่อง น้ำมันไพลหอมเป็นการทดลองเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำมันไพล โดยมีส่วนประกอบ คือ ไพล พิมเสน การบูร น้ำมันมะพร้าว และดอกกานพลู การทดลองนี้เราต้องการทราบว่า ปริมาณความเข้มข้นของไพล มีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาหรือไม่ อย่างไร โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง มีปริมาณความเข้มข้นของไพลเป็นตัวแปรต้น ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นตังแปรตาม และปริมาณของน้ำมันมะพร้าว ดอกกานพลู พิมเสน และการบูรเป็นตัวแปรควบคุม วิธีเตรียมการทดลอง คือ นำไพลมาหั่นเป็นแว่นๆแล้วผึ่งแดดให้เสด็จน้ำ นำดอกกานพลูมาทุบให้แตก ทดลองตอนที่ 1 ตั้งกระทะ แล้วเทน้ำมันมะพร้าวลงไป รอจนร้อน แล้วนำไพลที่เตรียมไว้มาเจียว 50 กรัม รอจนเหลืองกรอบ ยกลงแล้วรอให้น้ำมันอุ่นจึงใส่ดอกกานพลู ลงไป รอจนน้ำมันเย็นจึงใส่พิมเสน และการบูร คนให้เข้ากัน ตักไพลและดอกกานพลูออกก่อน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง บรรจุใส่ขวดแก้วบรรจุภัณฑ์ การทดลองตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ทำเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนปริมาณไพลเป็น 100 กรัม และ 150 กรัม ตามลำดับ
เเกกกกกกก ผลการทดลอง ขวดที่ 1 มีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยกว่าขวดที่ 2 และ3 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า ปริมาณความเข้มข้นของไพลมีผลต่อระยะเวลาในการรักษา ถ้ามีความเข้มข้นมากก็จะมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน

ดดดดดดดดดดดดดด

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน


เดก้เกพะพกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพรไทย ซึ่งในท้องถิ่นของข้าพเจ้ามีสมุนไพรอยู่หลายชนิด แต่เนื่องจากที่หมู่บ้านของข้าพเจ้ามีเด็กถูกแมลงสัตว์กัดต่อยอยู่เป็นประจำ รวมถึงคนชราที่หมู่บ้านของข้าพเจ้ามีอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็นตึงอยู่หลายราย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถรักษา บรรเทาอาการดังกล่าวได้และพบว่าไพลมีสรรพคุณตามที่ต้องการทุกอย่าง และเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำไพลมาทำน้ำมันไพร มีชื่อโครงงานว่า “น้ำมันไพลหอม”

ขอบเขตของการทำการศึกษา


- คุณชุติกาญจน์ อังคสุภณ บ้านเลขที่ 126 หมู่ 4 บ้านโคกตาล ต.สะแกซำ
อ. เมือง จ. บุรีรัมย์ 31000
- บ้านเลขที่188 หมู่ 14 ต.เสม็ด อ. เมือง จ. บุรีรัมย์ 31000

สมมติฐานของการศึกษา

ถ้าปริมาณของไพลมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา
ดังนั้นเมื่อเพิ่มปริมาณไพล ก็จะหายเร็วขึ้น

ตัวแปร

ตัวแปรต้น : ปริมาณของไพล
ตัวแปรตาม : ประสิทธิภาพในการรักษา
ตัวแปรควบคุม :
- น้ำมันมะพร้าว 200 มิลลิลิตร
- การบูร 20 กรัม

- พิมเสน 10 กรัม
- ดอกกานพลู 40 กรัม

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง


วัสดุ

- ไพลสด
- น้ำมันมะพร้าว 200 มิลลิลิตร
- ดอกกานพลู 40 กรัม
- การบูร 20 กรัม
- พิมเสน 10 กรัม


อุปกรณ์

- กระทะ
- ตะหลิว
- ผ้าขาวบาง
- ช้อนตวง
- ช้อน
- ขวดแก้วบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก
- เตาแก็ส
- แก้ว

วิธีการทดลอง

ตอนที่ 1
















1. นำไพลสดมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาหั่นเป็นแว่นบางๆ

แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งกรอบ


















2. นำกระทะตั้งไฟปานกลาง แล้วเทน้ำมันมะพร้าวลงไป 200 ml.

รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงใส่ไพล 50 กรัมลงไปเจียวจนเหลือง




3. ยกกระทะลงจากเตา ตั้งพักไว้จนอุ่น แล้วใส่ดอกกานพลูลงไป 40 กรัม

รอจนเย็นจึงเติมการบูร 20 กรัม และใส่พิมเสนลงไป 10 กรัม คนให้เข้ากัน























4. ตักไพลและดอกกานพลูออก นำไปกรองด้วย

ผ้าขาวบาง แล้วบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้




ตอนที่ 2
ทำเช่นเดียวกับตอนที่ 1 แต่เปลี่ยนปริมาณของไพลเป็น 100 กรัม



ตอนที่ 3
ทำเช่นเดียวกับตอนที่ 1 แต่เปลี่ยนปริมาณของไพลเป็น 150 กรัม















ผลการทดลอง




สรุปผลการทดลอง

ตอนที่1
น้ำมันไพลมีกลิ่นไพลอ่อนๆ และมีสีเหลืองอ่อน ประสิทธิภาพในการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร


ตอนที่2
น้ำมันไพลที่ได้มีกลิ่นหอม มีสีเหลือง และมีประสิทธิภาพในการรักษาได้ดี

ตอนที่3
น้ำมันไพลที่ได้มีกลิ่นค่อนข้างฉุน มีสีเหลืองเข้ม มีประสิทธิภาพในการรักษาดีมาก

ทั้งนี้เราจะเลือกน้ำมันไพลที่ได้จากการทดลองที่ 2 มาใช้ เพราะกลิ่นไม่ฉุนเกินไปหรืออ่อนเกินไป สีค่อนข้างเหมาะสมไม่เข้มหรืออ่อนเกินไป ประสิทธิภาพก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. สามารถนำไปประกอบอาชีพได้/หารายได้พิเศษ
2. ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่ม
3. มีความสามัคคี มีความช่วยเหลือกัน
4. ได้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น
5. มีความภาคภูมิใจในชิ้นงาน

ข้อเสนอแนะ

1. ควรจะนำสมุนไพรชนิดอื่นๆมาทดลองด้วย
2. ควรกำหนดเวลาให้ชัดเจน เช่น เวลาในการรอให้น้ำมันร้อน เวลาในการเจียวไพล
3. ทุกขั้นตอนควรทำด้วยความสะอาด

บรรณานุกรม

วีรชัย มาศฉมาดล. ผัก-อาหารก็เป็นยาได้. สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
ดดดดดดดด จำกัด, 2530.
นฤคม บุญหลง. 2525. หลักการอุตสาหกรรมเกษตร. คณะอุตสาห-
ดดดดดดดด กรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.