ไพลสด

ไพลสด

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เรื่อง น้ำมันไพลหอม

คณะผู้จัดทำ

นายเดชากุล ใจหาญ เลขที่ 3
นางสาวนีรนุช วงค์รัมย์ เลขที่ 21
นางสาวประวีณา สุขหนา เลขที่ 23


อาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูรตนัตตยา จันทะนะสาโร

โรงเรียนภัทรบพิตร อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ


เเพพพะพพ ในการจัดทำโครงงานเรื่อง น้ำมันไพลหอม มีจุดประสงค์เพื่อนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งไพลเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่น เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลงงง่าย และมีสรรพคุณในการรักษาโรคมากมาย เช่น แก้ผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำดำเขียว แก้เคล็ดขัดยอก เป็นต้น ชาวบ้านจึงนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือน อีกทั้งการทำน้ำมันไพลยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาได้อีกด้วย และด้วยเหตุนี้กลุ่มของข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับไพล
ฟหฟหฟหฟ โครงงานเรื่อง น้ำมันไพลหอมเป็นการทดลองเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำมันไพล โดยมีส่วนประกอบ คือ ไพล พิมเสน การบูร น้ำมันมะพร้าว และดอกกานพลู การทดลองนี้เราต้องการทราบว่า ปริมาณความเข้มข้นของไพล มีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาหรือไม่ อย่างไร โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง มีปริมาณความเข้มข้นของไพลเป็นตัวแปรต้น ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นตังแปรตาม และปริมาณของน้ำมันมะพร้าว ดอกกานพลู พิมเสน และการบูรเป็นตัวแปรควบคุม วิธีเตรียมการทดลอง คือ นำไพลมาหั่นเป็นแว่นๆแล้วผึ่งแดดให้เสด็จน้ำ นำดอกกานพลูมาทุบให้แตก ทดลองตอนที่ 1 ตั้งกระทะ แล้วเทน้ำมันมะพร้าวลงไป รอจนร้อน แล้วนำไพลที่เตรียมไว้มาเจียว 50 กรัม รอจนเหลืองกรอบ ยกลงแล้วรอให้น้ำมันอุ่นจึงใส่ดอกกานพลู ลงไป รอจนน้ำมันเย็นจึงใส่พิมเสน และการบูร คนให้เข้ากัน ตักไพลและดอกกานพลูออกก่อน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง บรรจุใส่ขวดแก้วบรรจุภัณฑ์ การทดลองตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ทำเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนปริมาณไพลเป็น 100 กรัม และ 150 กรัม ตามลำดับ
เเกกกกกกก ผลการทดลอง ขวดที่ 1 มีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยกว่าขวดที่ 2 และ3 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า ปริมาณความเข้มข้นของไพลมีผลต่อระยะเวลาในการรักษา ถ้ามีความเข้มข้นมากก็จะมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน

ดดดดดดดดดดดดดด

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน


เดก้เกพะพกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพรไทย ซึ่งในท้องถิ่นของข้าพเจ้ามีสมุนไพรอยู่หลายชนิด แต่เนื่องจากที่หมู่บ้านของข้าพเจ้ามีเด็กถูกแมลงสัตว์กัดต่อยอยู่เป็นประจำ รวมถึงคนชราที่หมู่บ้านของข้าพเจ้ามีอาการปวดเมื่อย เส้นเอ็นตึงอยู่หลายราย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถรักษา บรรเทาอาการดังกล่าวได้และพบว่าไพลมีสรรพคุณตามที่ต้องการทุกอย่าง และเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำไพลมาทำน้ำมันไพร มีชื่อโครงงานว่า “น้ำมันไพลหอม”

ขอบเขตของการทำการศึกษา


- คุณชุติกาญจน์ อังคสุภณ บ้านเลขที่ 126 หมู่ 4 บ้านโคกตาล ต.สะแกซำ
อ. เมือง จ. บุรีรัมย์ 31000
- บ้านเลขที่188 หมู่ 14 ต.เสม็ด อ. เมือง จ. บุรีรัมย์ 31000

สมมติฐานของการศึกษา

ถ้าปริมาณของไพลมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา
ดังนั้นเมื่อเพิ่มปริมาณไพล ก็จะหายเร็วขึ้น

ตัวแปร

ตัวแปรต้น : ปริมาณของไพล
ตัวแปรตาม : ประสิทธิภาพในการรักษา
ตัวแปรควบคุม :
- น้ำมันมะพร้าว 200 มิลลิลิตร
- การบูร 20 กรัม

- พิมเสน 10 กรัม
- ดอกกานพลู 40 กรัม

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง


วัสดุ

- ไพลสด
- น้ำมันมะพร้าว 200 มิลลิลิตร
- ดอกกานพลู 40 กรัม
- การบูร 20 กรัม
- พิมเสน 10 กรัม


อุปกรณ์

- กระทะ
- ตะหลิว
- ผ้าขาวบาง
- ช้อนตวง
- ช้อน
- ขวดแก้วบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก
- เตาแก็ส
- แก้ว